2.2.6 การเชื่อมต่ออุปกรณ์ ในระบบเครือข่าย
หมายถึง
การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน
โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด
ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด
เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว
(Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้
และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3
ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องแบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
โดยไม่มีโหมดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน
รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล 3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน
เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหมดอื่น
ๆ ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ
จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15
เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป
จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
2.
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi Point)
เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก
การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา
จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ
จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง
โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง
เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง
และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้
การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ
แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
1.
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
2.
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
3.
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
4.
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
วิธีการต่อสาย LAN
1. ก่อนอื่นให้คุณตัดฉนวน PVC ที่หุ้มสายออกโดยให้ตัดห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณครึ่งนิ้ว
(17/32 นิ้ว)
2. จากนั้นตัดสาย Shieled
ที่มีลักษณะเป็นร่างแหชั้นที่ 2 ออก
โดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามา 8/32 นิ้ว
หรือ 1/4 นิ้ว
3. จากนั้นให้คุณตัดฉนวนสีขาวชั้นในออกโดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณ 6/32 นิ้ว4. หลังจากที่เตรียมสายเสร็จแล้ว ให้คุณนำตัว BNC
Connector หรือขั้วต่อมาเชื่อมต่อ
โดยขั้วต่อจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้
5. ให้คุณนำเอาสายที่ได้เตรียมไว้สวมเข้าไปในส่วนที่
1 ไว้ก่อน
6. นำส่วนที่ 2 ที่มีลักษณะเป็นเข้มเล็กๆมาสวมกับสายที่ได้เตรียมไว้
หากคุณตัดสายได้ตามสัดส่วนที่กำหนดสายจะพอดีหัวขั้ว
7. นำสายไปเสียบกับหัวขั้วส่วนที่
3 แล้วเลื่อนปลอกเข้ามาให้ชิดกับหัวขั้วและใช้คีมบีบปลอกให้ยึดติดกับหัวขั้วและสาย
8. ทำตามขั้นตอนกับสายอีกด้านก็จะได้สายที่พร้อมใช้งาน
1 เส้น
การต่อสาย UTP
การต่อสาย UTP จะมีวิธีต่ออยู่
2 แบบคือ การต่อแบบไขว้
และต่อแบบตรง โดยที่การต่อแบบไขว้จะใช้สำหรับการต่อเครื่อง
2 เครื่องเข้าด้วยกัน และการต่อแบบตรงจะเป็นการต่อเครื่องทุกเครื่องเข้ากับ
ฮับ ซึ่งจะมีวิธีการต่อสายแต่ละแบบดังนี้
วิธีการต่อสายแบบไขว้
การต่อสายแบบไขว้จะมีวิธีการเรียงสายอยู่ 2 วิธี คือ
การต่อไขว้ขนาดความเร็ว 10 Mb และขนาดความเร็ว 100 Mb
ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการเรียงสายแบบไขว้ขนาดความเร็ว 10 Mb
จะมีวิธีการเรียงสายโดยไขว้สายที่ 1่กับสายที่
3 และสายที่ 2 กับสายที่ 6 ดังภาพต่อไปนี้
รูปที่ 2.10 การต่อไขว้ขนาดความเร็ว 10 Mb
สำหรับการต่อแบบไขว้ขนาดความเร็ว 100 Mb การต่อแบบนี้จะต้องใช้สายระดับ
CAT 5 ไม่สามารถใช้สายที่ต่ำกว่านี้ได้
วิธีการต่อสายแบบนี้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีความเร็ว 10 Mb ก็ได้ โดยวิธีการเรียงสายแบบนี้จะคล้ายกับวิธีการเรียงสาย ขนาด 10 Mb แต่จะต้องไขว้สายที่ 4 กับสายที่ 7 และสายที่ 5 กับสายที่ 8 เพิ่มขึ้นด้วยดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
รูปที่ 2.11 การต่อแบบไขว้ขนาดความเร็ว 100 Mb
วิธีการต่อสายUTP แบบตรง
1. ใช้มีดคัตเตอร์ปอกสาย
การปอกต้องระวังอย่าให้สายในขาด
รูปที่ 2.12 ปอกสาย
2. คลี่สายในออกและทำการจัดเรียงสายตามที่ต้องการต่อ
โดยเรียงสายทั้ง 8 ให้แบนเพื่อสะดวกในการเข้าสาย
รูปที่ 2.13 คลี่สายในออก
3. ตัดปลายสายทั้ง 8
ให้ตรงกัน
รูปที่ 2.14 เรียงสาย
4. นำสายที่เรียงไว้ทั้ง 8
เสียบเข้าไปกับตัว URL 45 Connector โดยให้หันด้านที่มีขาล็อคขึ้นด้านบนให้เสียบสายที่
1 เข้าที่ช่องซ้ายสุด และเรียงตามลำดับต่อไป
รูปที่ 2.15 เสียบเข้าไปกับตัว URL 45 Connector
5. ใช้คีมจัมป์สายทำการจัมป์สาย
โดยให้ตัว RJ45 Connector อยู่ตรงร่องของคีมจัมป์
แล้วบีบคีมให้แน่นคีมจะบีบให้สายติดแน่นอยู่กับตัว RJ-45 Connector
รูปที่ 2.16 ทำการจัมป์สาย
6. ทำการเข้าสายอีกด้าน
ก็จะได้สายที่พร้อมใช้งาน 1 เส้น
รูปที่ 2.17 ทำการเข้าสายอีกด้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น