วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

โปรโตคอลในการสื่อสารข้อมูล

2.2.9  โปรโตคอลในการสื่อสารข้อมูล
          โปรโตคอล ( Protocol ) คือ ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ เหมือนการใช้ภาษาในการสื่อสารเดียวกัน โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบเห็นกันทั่วไปมีดังนี้
          2.1  โปรโตคอล IPX/SPX
โปรโตคอล IPX/SPX  เป็นโปรโตคอลที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell และ
นำไปใช้ในเครือข่ายเน็ตแวร์ ( Netware ) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการณ์เครือข่ายที่นิยมใช้กันอย่างมากในสมัยก่อน โปรโตคอล IPX/SPX ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ โปรโตคอล IPX ซึ่งเป็นโปรโตคอลในลักษณะไม่รับประกันในการส่ง คือรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งไปยังปลายทางทันที และโปโตคอลSPX ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีการรับประกันการส่งข้อมูลไม่ครบถ้วน ก็จะมีการส่งข้อมูลซ้ำจนกว่าผู้รับจะได้รับ ทำให้ส่งได้แน่นอนกว่า แต่จะส่งได้ช้ากว่าการส่งโดยใช้โปรโตคอล IPX
          2.2  โปรโตคอลNetBEUI
                   โปรโตคอล NetBEUI เป็นโปรโตคอลที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งพัฒนามาจากโปรโตคอล NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ของบริษัทไอบีเอ็ม อีกต่อหนึ่ง โปรโตคอล NetBEUI เป็นโปรโตคอลขนาดเล็ก และใช้วิธีกำหนดการติดต่อในลักษณะของชื่อเครื่อง (Host) และซึ่งเครือข่าย (Workgroup)
                        ข้อดีของโปรโตคอลชนิดนี้คือมีความเร็วในการทำงานสูงและใช้งานได้ง่ายแต่ข้อจำกัดคือใช้ได้เฉพาะเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่มีความสามารถในการค้นหาเส้นทาง จึงใช้เฉพาะเครือข่ายแบบ Peer to Peer
          2.3  โปรโตคอลTCPIP
                   โปรโตคอล TCPIP เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้งานแพร่หลายมากที่สุดถูกใช้เป็นโปรโตคอลในการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่าย Internet จุดเด่นคือความสามารถในการวิ่งหาเส้นทางใหม่ในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีเปิด จึงสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
2.4  โปรโตคอล Apple Talk
                   โปรโตคอล Apple Talk เป็นโปรโตคอลที่สร้างขึ้นโดย บริษัท Apple Computer เพื่อใช้ในเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Mac OS ซึ่งมีจุดเด่น คือ สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์เครือข่ายมาเพิ่มเติม แต่ข้อจำกัดคือใช้ในเครือข่ายที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ Apple เท่านั้น
โปรโตคอล TCP/IP
          โปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นก่อนการกำหนดมาตรฐาน OSI Model และมีการใช้งานแพร่หลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ จึงทำให้เป็นมาตรฐานถือว่ามีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน

            มาตรฐาน TCP/IP จะแบ่งการรับ – ส่งข้อมูลเป็น 4 ชั้น เมื่อเปรียบเทียบกับแบบอ้างอิง OSI Model 7 ชั้น จะเป็นดังนี้




                             รูปที่ 2.27   แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง TCP/IP กับ OSI Model

          จากรูปจะเห็นว่า ชั้น Application ของ TCP/IP จะเสมือนรวมชั้น Application ชั้น Presentation และชั้น Session เข้าเป็นชั้นเดียวกันโดยมีหน้าที่เป็นส่วนในการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับ ส่วนบริการต่างๆ เช่นการโอนย้ายไฟล์ (FTP) , การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (SMTP) หรือบริการในการควบคุมเครื่องระยะไกล (Telnet)
            ชั้น Transport ของ TCP/IP จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Transport ของ OSI Model คือ จัดเตรียมข้อมูลในการรับ ส่งข้อมูลให้มีเสถียรภาพเชื่อถือได้ รวมทั้งการตัดแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อย
            ส่วนชั้น Internet จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับชั้น Network ของ OSI Model ในการเลือกเส้นทางการส่งข้อมูลร่วมทั้งสร้างสภาวะการเชื่อมต่อ และ สภาวะยกเลิกการเชื่อมต่อ
            ชั้น Host to Network จะทำหน้าที่แปลง IP Address เป็น หมายเลขประจำตัวทางฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อใช้ในการรับ ส่งข้อมูลในระดับกายภาพ รวมทั้งการสร้างสัญญาณไฟฟ้าสำหรับการรับ ส่งข้อมูลตามมาตรฐานทางฮาร์ดแวร์ที่ใช้ เช่น ระบบ อีเธอร์เน็ต หรือ โทเค็นริง ซึ่งจะคล้ายกับการรวม ชั้น Data Link และ ชั้น Physical ของ OSI Model เข้าด้วยกัน โปรโตคอล TCP/IP จะมีโปรโตคอลย่อยในชั้นต่างๆ ดังนี้
ชั้น Application ประกอบด้วย
-      โปรโตคอล FTP (File Tranfer Protocol) เป็นตัวให้บริการถ่ายโอนไฟล์ผ่านระบบเครือข่าย
-      โปรโตคอล Telnet ให้บริการ การติดต่อคอมพิวเตอร์ระยะไกลในระบบเครือข่าย
-      โปรโตคอล SMTP (Simple Mail Tranfer Protocol) ใช้บริการ E-mail
-      โปรโตคอล HTTP (Hyper Text Tranfer Protocol) ใช้บริการการแสดงเว็บ
-      โปรโตคอล DNS (Domain Name System) ซึ่งใช้ในการแปลงข้อมูลชื่อเว็บเป็น IP Address
-      โปรโตคอล SNMP (Simple Network Management Protocol) ซึ่งใช้ควบคุมดูแลเครือข่าย
-      โปรโตคอล DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) ซึ่งใช้แจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายโดยอัตโนมัติ

ชั้น Transport ประกอบด้วยโปรโตคอล ดังนี้
-      โปรโตคอล TCP (TranmissionControt Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ทำงานในลักษณะ Connection Oriented โดยจะแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อส่งออกไปยังปลายทาง แล้วประกอบเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามเดิม หากมีข้อมูลบางส่วนขาดหายไป จะมีการแจ้งกลับเพื่อให้ส่งไปใหม่ จึงเป็นการรับประกันว่าปลายทางจะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ถูกต้องเสมอ
-      โปรโตคอล UDP (User Datagram Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ทำงานในลักษณะ Connectionless คือโปรโตคอล UDP จะส่งข้อมูลออกไปโดยไม่มีการตรวจสอบย้อนกลับว่าปลายทางได้รับข้อมูลถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ดังนั้นข้อมูลที่ส่งไปจึงมีความสมบูรณ์ถูกต้องน้อยกว่า การส่งข้อมูลโดยใช้โปรโตคอล TCP แต่จะส่งได้รวดเร็วกว่าและใช้แบนด์วิดท์(Bandwidth) ของช่องสัญญาณน้อยกว่า

ชั้น Internet จะประกอบด้วยโปรโตคอล ดังนี้
-      โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลในการเลือกเส้นทางและเป็นโปรโตคอลหลักในการส่งข้อมูลในเครือข่าย
-      โปรโตคอล ICMP (Internet Control Message Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้แจ้งเตือนเมื่อมีปัญหาในการรับ ส่งข้อมูล
-      โปรโตคอล ARP (Adderss Resolution Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการแปลงหมายเลข IP เป็นหมายเลข MAC Address ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวทางฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์เครือข่าย

อุปกรณ์ในเครือข่าย
            ลักษณะของข้อมูลในโปรโตคอล TCP/IP จะมีการแทรกส่วนข้อมูลส่วนหัว (Header) ในแต่ละชั้นการทำงานทีละชั้น ดังรูป 2.28


รูปที่  2.28   แสดงการแทรกส่วนหัวในชั้นต่าง ๆ ของโปรโตคอล TCP/IP

หลักการของ Internet Sharing
เป็นการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง
โดยข้อมูลที่เครื่องลูกข่ายเรียกจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต (Internet Sharing Server) ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรง ในที่นี้จะพูดถึงการใช้งานร่วมกับ Internet Turbo จาก C.S. Internet เท่านั้น
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.      เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ที่เชื่อมต่อกับ Internet Turboแล้ว พร้อม LAN Card แนะนำ OS เป็น Windows 2000 Professional ขึ้นไป
2.      เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) พร้อม LAN Card (ใช้ OS Windows 2000, NT, 98, 95, ME, Linux หรือ Mac)
3.      ซอฟท์แวร์สำหรับการทำระบบ S
4.      haring เช่น ICS หรือ WinGate
5.      Hub และ สายสัญญาณระบบเครือข่าย

ขั้นตอนการติดตั้งระบบ Internet Sharing
วางแผนการเชื่อมต่อ (Network Diagram) อย่างง่าย ตามรูปที่ 1 โดยระบุ IP Address ของเครื่องแม่ข่าย และ IP Address ของเครื่องลูกข่าย (ไม่ต้องระบุในกรณีให้เครื่องแม่ข่ายจ่าย IP Address ให้อัตโนมัติ DHCP) เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาติดตั้งระบบ LANโดยติดตั้ง LAN Card และสายสัญญาณ ตามจุดที่ต้องการใช้งานแล้ว เชื่อมสายจาก LAN Card รวมกันที่ HUBพร้อมทดสอบระบบติดตั้ง IP Addressเครื่องแม่ข่าย (Server) และ เครื่องลูกข่าย (Client)ติดตั้งซอฟท์แวร์ในการ Sharingที่เครื่องแม่ข่าย เช่น ICS ที่มีมาพร้อม ตั้งแต่ Windows 98SE ขึ้นไป


รูปที่ 2.29 แผนการเชื่อมต่อ (Network Diagram)

การติดตั้ง IP Address
การติดตั้ง IP Address สำหรับ Windows 95,98 และ 2000 มี 2 แบบ คือ
1.      แบบ Static คือการกำหนด IP แบบถาวร เช่น กำหนดเป็น 192.168.0.1 เป็นต้น
2.      แบบ Dynamic คือการกำหนด IP แบบ ให้ Server เป็นตัวจ่าย IP ให้กับ Client (DHCP) ซึ่งการ login
แต่ละครั้งของ Client จะได้ IP address ต่างกันไป (การ set ขึ้นอยู่กับ Server เท่านั้น)
สำหรับ Windows 95 ขอแนะนำให้กำหนดแบบ static IP
หลักการตั้งค่า IP นั้นขอให้ยึดหลักดังนี้
1.      เครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ IP Address แบบ Static เพราะเครื่องลูกข่ายต้องใช้
อ้างอิงเช่น 192.168.0.1ไม่ต้องระบุ Gateway หรือ Router IP
2.      เครื่องลูกข่าย (Client) แนะนำให้ใช้ แบบ Dynamic หรือ ใช้แบบ Static แต่ต้อง
ไม่ให้ซ้ำกัน เช่น 192.168.0.2, 192.168.0.3 ถึง 254ุ ตามจำนวนเครื่องที่จะใช้งาน และต้องระบบGateway เป็น IP Address ของ Server ด้วย IP Address

ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address แบบ Static
            Windows 95/98/98SE/ME
-      ที่ Control Panel ->คลิก Network
-      เลือกที่ TCP/IP ของ Ethernet Adapter ที่ท่านใช้งานอยู่ เช่น TCP/IP -> 3COM905TX Ethernet Adapterแล้วคลิกปุ่ม Properties
-      ที่หน้าต่าง TCP/IP Properties ใน IP Address Tab เลือก Specify an IP Address:และกรอกค่า IP Address และ Subnet Mask
-      คลิก Gateway Tab กรอกค่า IP Address ของเครื่องที่เป็น Server ในช่อง New gateway แล้วคลิก Add
-      คลิก DNS Configuration Tab เลือก Enable DNS กรอก IP address ของ DNS Serverของ C.S.Internet คือ 202.183.255.20 และ 202.183.255.21 ตามลำดับ ในช่อง DNS Server Sear Order แล้วคลิก Add
-      คลิก OK Windows จะเรียกหาแผ่นติดตั้ง Windows เพื่ออัพเดท Driverเมื่อเสร็จ Windows จะให้ Restart เครื่อง
Windows 2000
-      ที่ Control Panel -> Icon network connections LAN connection คลิกขวาที่ confocal Area Connection 1 แล้วเลือก Properties
-      ปรากฏหน้าต่าง Local Area Connection 1 Properties ให้คลิกเลือก 1 ครั้งที่ Internet Protocol (TCP/IP) และกดปุ่ม Properties

รูปที่ 2.30 ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address

ปรากฏหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties ให้คลิกเลือกหัวข้อUse the following IP address:
-      กรอก IP Address, Subnet mark และ Default Gateway (ถ้ามี) ตามที่วางแผนระบบไว้
-      ให้คลิกเลือกหัวข้อUse the following DNS server addresses: พร้อมกรอก IP Address ของ DNSserver ของ C.S. Internet คือ 202.183.255.20 และ 202.183.255.21
-      คลิก OK เสร็จสิ้นแบบ Dynamic

Windows 95/98/98SE/ME
-      ที่ Control Panel ->คลิก Network
-      เลือกที่ TCP/IP ของ Ethernet Adapter ที่ท่านใช้งานอยู่ เช่น TCP/IP -> 3COM905TX Ethernet Adapterแล้วคลิกปุ่ม Properties
-      ที่หน้าต่าง TCP/IP Properties ใน IP Address Tab เลือก Obtain IP address automatically
-      คลิก Gateway Tab กรอกค่า IP Address ของเครื่องที่เป็น Server ในช่อง New gateway แล้วคลิก Add
-      คลิก DNS Configuration Tab เลือก Enable DNS กรอก IP address ของ DNS Server ของ C.S. Internetคือ 202.183.255.20 และ 202.183.255.21ตามลำดับ ในช่อง DNS Server Search Order แล้วคลิก Add
-      คลิก OK Windows จะเรียกหาแผ่นติดตั้ง Windows เพื่ออัพเดท Driver เมื่อเสร็จ Windows จะให้ Restart เครื่อง

Windows 2000
ที่ Control Panel -> Icon network connections LAN connection คลิกขวาที่Icon Local Area Connection 1แล้วเลือก Properties


รูปที่ 2.31 ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address

ปรากฏหน้าต่าง Local Area Connection 1 Properties ให้คลิกเลือก 1 ครั้งที่ Internet Protocol (TCP/IP)และกดปุ่ม Properties

รูปที่ 2.32 ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address

-      ปรากฏหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties ให้คลิกเลือกหัวข้อObtain an IP address automatically
-      ปรากฏหน้าต่าง Advanced TCP/IP Settingsในช่อง IP Address จะปรากฏ “DHCP Enabled” ขึ้นอัตโนมัติ


รูปที่ 2.33 ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address
-      กดปุ่ม Add ที่ Default Gateways :
-      จะปรากฏหน้าต่าง TCP/IP Gateway Address ให้ใส่ค่า Gateway ของเครื่องที่เป็น Serverแล้วกดปุ่ม Add
-      ให้กดปุ่ม OK เพื่อกลับมาสู่หน้า Internet Protocol (TCP/IP) properties
-      ที่ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วจะเห็นว่ามี IP Gateway ปรากฏขึ้นจากนั้น



รูปที่ 2.34 ขั้นตอนการติดตั้งค่า IP Address


-      กดปุ่ม OK เพื่อออกจากการติดตั้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. โปรโตคอลในชั้น Application ของ TCP/IP มีอะไรบ้างและแต่ละโปรโตคอลมีหน้าที่อะไร?
    เข้าถึง Telkom University Jakarta

    ตอบลบ