2.2.4 มีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกการใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งในด้านการทำงาน เล่นเกม สนทนา ติดต่อธุรกิจ การป้องกันภัย
รวมถึงเพื่อความบันเทิงด้วย ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ เสื่อมเสีย และก่อให้เกิดโทษตามมามากมาย เพระผู้ใช้เหล่านั้นยังไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้หากบุคคลผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใดยังไม่มีแล้ว
จะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอีกมาก
จริยธรรม
(Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม
สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น
คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง
เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า
การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่
แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย
แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย
หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง
ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น
มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ”
(Code of Conduct) ขึ้น
เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์
ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้
จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด
ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ
ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว
จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด
บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ
เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์
เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม
จริยธรรม
และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน
หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
บัญญัติ
36ประการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
จรรยาวิชาชีพ ของ
สมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์
11.ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ถูกต้อง
12.ควรมีมารยาทในการใช้ไม่แอบดูข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่อนุญาต
13.ไม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบุคคลอื่น หรือการทำให้
ผู้อื่นเสื่อมเสียไม่ว่าจะทางชื่อเสียง ทางสังคม
และอื่นๆ ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง
14.ควรช่วยกันรักษาคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีเอาไว้
15. หากว่าเราไม่ได้เป็นผู้ที่กระทำแต่หากพบเห็นบุคคลอื่นก็ควรที่จะว่ากล่าวตักเตือนให้เขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง6.ใช้คอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น
16.ควรใช้คอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์
17.ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
18.หากมีบุคคลใดส่งข้อมูลมาให้โดยเราไม่รู้จักก็ควรหลีกเลี่ยงโดยการไม่เปิดเพื่อ
ป้องกันไวรัส
19.ในการทำงานต่างๆต้องตรวจเช็คข้อมูลให้
20.ในการทำสิ่งใดแต่ละครั้งควรคิดถึงผลที่จะตามมาให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการผิดพลาดในภายหลัง13.ไม่เปิดเว็บภาพลามก
21.ไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ให้กับผู้อื่น
22.ไม่ส่งจดหมายเท็จให้กับผู้อื่นเพราะอาจเกิดการสูญเสีย
23.ไม่ส่งแฟ้มไวรัสให้คอมเครื่องอื่น
24.ช่วยกันตรวจตราผู้ที่หน้าสงสัย
25.ช่วยกันเป็นตาให้กับส่วนรวมหากมีสิ่งใดผิดปกติจะได้หาทางแก้ไข้ได้ทัน
26.ช่วยกันรณรงค์การรักษาสิ่งของ
27.ช่วยกันลบข้อมูลที่ไม่ดีออกไป
28.ถ้ามีคนทำการแบบนี้ให้ทำโทษโดยการไม่ให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
29.ไม่ควรเล่นเกมการพนัน
30.ไม่ควรเลียนแบบความรุนเเรงในสิ่งเร้า
31.เล่นเกมที่มีทักษะหรือค้นหาความรู้แทน
32.หลีกเลี่ยงเกมไร้สาระ
33.เมื่อเข้าไปใช้บริการเว็บใดก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเว็บนั้น
(ในทางที่ถูกต้อง)
34.ในการใช้คอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องแสกนไวรัส
35.ไม่โหลดรูปภาพลามกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็น
36.เคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น