2.2.8 ตัวกลางเชื่อมโยง
ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะของตัวกลางต่างๆ
มีดังต่อไปนี้
1.สายคู่บิดเกลียว (Twisted
Pair) สายคู่บิดเกลียว แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐาน
เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอกเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ถึง 10^5 Hz หรือ 10^6 Hz เช่น
สายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะสามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง
12 ช่องทาง
สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง
จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง
โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยมสายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที
ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว
ราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี มีน้ำหนักเบาง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างคือ สายโทรศัพท์
สายแบบนี้มี 2 ชนิด คือ
ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair :
STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้น
เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ภาพที่ 2.22 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
ข.สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :
UTP) เป็นสายคู่ บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น
ทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
ภาพที่ 2.23 สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
2.
สายโคแอกเชียล (Coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันมาก
ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดีทัศน์ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ชนิด 50 โอห์ม ข้อส่งข้อมูลแบบดิจิตอล และชนิด 75 โอห์ม ใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก
สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
และสัญญาณรบกวนอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณ
ไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง
ภาพที่ 2.24 สายโคแอกเชียล
3. เส้นใยนำแสง
(Fber Optic) เป็นการให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว
ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ต
จะใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิต
เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น
จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร
ระยะความยาวของเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นใช้ความยาวได้ถึง 2 กิโลเมตร
เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นแกนหลัก เส้นใยนำแสงนี้จะมีบทบาทมากขึ้น
เพราะมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วที่สูงมาก
ภาพที่ 2.25 สายใยนำแสง
ภาพที่ 2.26 อุปกรณ์รับส่งข้อมูลแสง
(ตัวรับใช้ Photodrode ตัวส่งใช้ LED ความยาวคลื่น 850 เมตร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น